เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) มีหน้าที่นำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เหมือนกับคีย์บอร์ด แต่จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป คือ ความสามารถในการประมวลผล เมื่อสแกนบาร์โค้ดคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่แปลงค่าให้เป็นข้อมูลตัวเลขหรือตัวอักษร แล้วปรากฏบนหน้าจอแสดงผล ทำให้เราอ่านเข้าใจ เครื่องยิงบาร์โค้ด (Barcode Scanner) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน รวดเร็ว แม่นยำ ลดการเกิดข้อผิดผลาด ความล่าช้าได้อย่างดีเยี่ยม
ในการเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ผู้ใช้จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงรูปแบบของข้อมูลบาร์โค้ดที่เราจะนำเครื่องอ่านไปใช้งานด้วย เพื่อให้เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ซื้อมา สามารถอ่านค่าบาร์โค้ดในรูปแบบนั้นๆได้ โดยบาร์โค้ดจะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ บาร์โค้ดแท่งในแบบ 1D (1 มิติ) และ บาร์โค้ดในแบบ 2D (2 มิติ)
บาร์โค้ดในแบบ 1D จะมีลักษณะเป็นแท่งบาร์โค้ดในแนวนอนทั่วๆไปที่เราสามารถพบเห็นได้บนตัวสินค้าต่างๆที่มีการจำหน่ายอยู่ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า เป็นสินค้าที่เราใช้สอยอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยบาร์โค้ดแบบ 1D จะมีชนิดย่อยอยู่หลายชนิดด้วยกัน มีชื่อเรียกต่างๆกัน เช่น EAN-13, Code 128, Code 39
บาร์โค้ดในอีกรูปแบบคือบาร์โค้ดแบบ 2D (2 มิติ) ซึ่งถูกนำมาใช้ทดแทนข้อด้อยของบาร์โค้ดในแบบ 1D โดยบาร์โค้ดในแบบ 2D นั้นสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอนจึงสามารถเก็บข้อมูลได้ในปริมาณที่มากกว่าเพราะสามารถขยายออกไปได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน บาร์โค้ดแบบ 2 มิติ ยังไม่ได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเมื่อเทียบกับบาร์โค้ดแท่ง 1D แต่ก็มีการนำบาร์โค้ดในรูปแบบนี้มาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้ใน Application ต่างๆในโทรศัพท์มือถือ บาร์โค้ดที่อยู่ในลักษณะของรูปแบบนี้ เช่น QR Code, Data Matrix, PDF417
ดังนั้นในการเลือกซื้อ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) จึงต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของเครื่องอ่านบาร์โค้ดด้วยว่าจะสามารถอ่านบาร์โค้ดที่ติดอยู่บนสินค้าได้หรือไม่
นอกจากนี้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ยังสามารถแบ่งได้ตามชนิดของหัวอ่าน คือ CCD, Laser, Omnidirectional และ Imager ซึ่งหัวอ่านแต่ละชนิดก็จะมีข้อแตกต่างกันไป มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน
เครื่องอ่านบาร์โค้ดยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของการเคลื่อนย้าย เช่น เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไร้สาย (wireless scanner) สามารถเคลื่อนย้ายได้ , ในบางรุ่นเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบมีสาย (Corded Scanner) คือจะต้องประจำอยู่ที่คอมพิวเตอร์มีสายเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ , ในบางรุ่นเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบพกพา (Portable Scanner) คือสามารถนำไปอ่านบาร์โค้ดและบันทึกข้อมูลในตัวเครื่องจากนั้นเมื่ออ่านเสร็จจะมีแท่งโอนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์ในภายหลังอ่านเสร็จ
นอกจากนี้ยังมีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีคุณลักษณะพิเศษ แบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ
ตัวเครื่องมีส่วนผสมของสาร Anti-Mirobial ซึงเป็น ผลิตภัณฑ์ต้านจุลชีพฆ่าหรือชะลอการแพร่กระจายของจุลชีพจุลชีพประกอบด้วยแบคทีเรียโปรโตซัวและเชื้อรา